วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งมีหัวข้อ ดังงนี้
รูปแบบการจัดการศึกษา
- การศึกษาปกติทั่วไป
- การศึกษาพิเศษ
- การศึกษาแบบเรียนร่วม
- การศึกษาแบบเรียนรวม
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม(lntegrated Education หรือ Mainstreaming)
- การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
- มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
- ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
- ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมเต็มเวลา(Mainstreaming)
คือ การจัดให้เด็กพิเศษเรียนโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน และเด็กพิเศษจะได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้ และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม(lnclusive Education)
เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยจะรับเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มรับเข้าการศึกษา และเด็กทุกคนจะมีบริการพิเศษความต้องการของแต่ละบุคคล
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม
- ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
- "สอนได้"
- เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
ภาพบรรยากาศในห้องเรียน
กิจกรรมสุดท้าย เป็นกิจกรรมตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งอาจารย์จะแจกกระดาษให้นักศึกษาตอบ และหลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนให้ร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย 4 เพลง ซึ่งมีชื่อเพลง ดังนี้
1. เพลงแปรงฟัน
2. เพลงพี่น้องกัน
3. เพลงอาบน้้ำ
4. เพลงมาโรงเรียน
วีดีโอการศึกษาแบบเรียนรวม(เพิ่มเติม)
การนำไปประยุกต์ใช้
เราสามารถนำความรู้ที่อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐวัยไปเป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้ หรือนำไปเป็นต้นแบบในการนำไปจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กๆได้จริงในอนาคต และเรายังสามารถนำความรู้นี้ไปต่อยอดในการศึกษาในครั้งต่อไปได้
การประเมิน
ตนเอง : วันนี้สนุกมากๆที่ได้เรียนกับเพื่อนเช็คบ่าย ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเป็นอย่างดี และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมตอบคำถามเป็นอย่างดี
เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆเยอะมากและทุกคนต่างตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี ทุกคนต่างร่วมกันตอบคำถามและแลกเปลี่ยนความคิดกันเป็นอย่างดี
อาจารย์ : วันนี้อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบรวมได้ชัดเจนมาก อาจารย์ยังเล่าประสบการณ์ต่างๆให้ฟังสนุกมาก
หมดเวลาสนุกแล้วจ้าาาา......พบกันใหม่สัปดาห์หน้าบ๊ายบายย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น