วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

วัน พฤหัสบดี ที่ 16 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558







หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนหยุดเนื่องจากเป็นวันสงกรานต์ค่ะ






สาดน้ำให้ชื่นกาย.....สาดรักให้ชื่นใจ...สุขสันต์วันสงกรานต์จ้า...^ ^





วัน พฤหัสบดี ที่ 9 เดือน เมษายน พ.ศ. 2558






หมายเหตุ : วันนี้ไม่ได้มาเรียนเนื่องจากดิฉันมีกิจธุระด่วนที่ต้องไปทำจึงขอลาหยุด 1 วัน






เสียดายจังไม่ได้มาเรียนกับเพื่อนๆเลย....สับดาห์หน้าไม่พลาดแน่...^ ^


วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

วัน พฤหัสบดี ที่ 2 เดือน เมษายน พ.ศ.2558






หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ให้นักศึกษาไปเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย





  


วัน พฤหัสบดี ที่ 26 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558






หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนแต่เป็นการสอบเก็บคะแนนภายในชั้นเรียน สอบข้อเขียนทั้งหมด 5 ข้อ 10 คะแนน 




อ่านหนังสือเยอะๆนะจ๊ะจะได้สอบได้คะแนนเยอะๆ...สู้ๆ

วัน พฤหัสบดี ที่ 19 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558





                วันนี้อาจารย์เริ่มต้นการสอนโดยการเล่นเกมทางจิตวิทยา ซึ่งเป็นการเล่าเกี่ยวกับการไปเที่ยวสวนสตอเบอร์รี่ แล้วให้นักศึกษาตอบตามลำดับเหตุการณ์ที่อาจารย์ ซึ่งเกมนี้เป็นเกมที่อาจารย์นำมาเล่นเพื่อความสนุกสนานผ่อนคลายความเคลียดก่อนนำเข้าสู่เนื้อหา



ความรู้ที่ได้รับ
        
             วันนี้อาจารย์สอน "เรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ" ซึ่งเป็นการส่งเสริมในด้านการฝึกการช่วยเหลือตัวเองให้แก่เด็กพิเศษ โดยมีการส่งเสริมในเรื่องต่างๆ ดังนี้
- เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
- การกิน อยู่
- การเข้าห้องน้ำ
- การแต่งตัว
- กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

สิ่งที่เราควรปฎิบัติ คือ การหัดให้เด็กทำด้วยตนเอง
- ไม่ช่วยเหลือเด็กเกินความจำเป็น(ใจแข็ง)
- ผุ้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
- ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เอง

ความสำเร็จสำคัญอย่างไร
- การได้ทำด้วยตนเอง
- เชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- อยากทำงานด้วยความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด๋กที่โตกว่า และผู้ใหญ่

จะช่วยเหลือเมื่อไหร่
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร ,หงุดหงิด ,เบื่อ , ไม่สบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

สรุป

- ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
- ครูต้องย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
- ครูต้องช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
- ครูต้องให้เด็กพึ่งตนเอง และรู้สึกเป็นอิสระ
- ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล




ภาพบรรยากาศในชั้นเรียน




ขั้นกิจกรรม

            กิจกรรมปิดท้ายการเรียนการสอนวันนี้คือ "กิจกรรมระบายสีทายนิสัย" อาจารย์ให้นักศึกษาเลือกสีที่ตนเองชอบที่สุด 1 สีระบายเป็นจุดศูนย์กลางลงในกระดาษ แล้วนำสีระบายต่อๆกันไปโดยระบายให้เป็นรูปวงกลม

คำทำนายเกี่ยวกับกิจกรรม

- จุดตรง คือ ตัวตนภายในที่แท้จริงของเรา
- สีที่อยู่ริมสุด คือ ตัวตนที่เราแสดงให้คนอื่นได้เห็น
- การตัดกระดาษเป็นวงกลม คือ บ่งบอกถึงการต่อสู้ในอนาคต




ตัวอย่างกิจกรรม




ภาพต้นไม้ประจำห้องเรา



การนำไปประยุกต์ใช้

       เราสามารถนำวิธีการส่งเสริมทักษะต่างๆเหล่านี้ไปปฏิบัติในอนาคตได้ และยังสามารถนำไปเป็นแนวทางในการช่วยเหลือและส่งเสริมให้แก่เด็กพิเศษในสถานการณ์ต่างๆได้จริง

การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมได้ดี

เพื่อน : เพื่อนๆต่างตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆได้เป็นอย่างดี

อาจารย์ : อาจารย์ได้เตรียมการสอนมาได้เป็นอย่างดีเป็นการสอนที่ไม่น่าเบื่อ และได้ความรู้มากมาย




   

วันนี้สนุกมากเลย......เจอกันใหม่นะจ๊ะ...^ ^

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

วัน พฤหัสบดี ที่ 12 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558





            วันนี้อาจารย์เริ่มต้นการสอนด้วยการอธิบาย และแนะนำเกี่ยวกับการบรรจุวิชาชีพครูว่าควรทำอย่างไร มีการบรรจุแบบใดบ้าง และหลักการเลือกโรงเรียนที่จะลงสอน 


เกมขำๆก่อนเข้าสู่การเรียน
       
           เกมนี้เป็นการเล่าบรรยายซึ่งอาจารย์มีภาพให้ดู แล้วเล่าถึงการพาไปเที่ยวทุ่งนาซาวันน่าพบเจอสัตว์ต่างๆมากมาย บ้างก็กำลังกินหญ้าพอเดินทางต่อไปเรื่อยๆดันมองไปเห็นสิงโตที่กำลังแย่งกันกินอาหารอยู่(กินเนื้อสัตว์แบบสดๆพร้อมมีภาพประกอบ).........ซึ่งอาจารย์ได้ถามว่าเมื่อนักศึกษาเห็นภาพนี้ครั้งแรกนักศึกษาคิดหรือรุสึกอย่างไร 

คำตอบของเกมนี้คือ คุณรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ดูหนังโป้ครั้งแรก


หมายเหตุ : เกมนี้เป็นแค่เกมที่นำมาเล่นเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น





ภาพทุ่งนาซาวันน่า



ภาพสิงโตกำลังแย่งกันกินอาหาร



ขั้นการสอน

                วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ มีดังนี้

ทักษะทางภาษา

     การวัดความสามารถทางภาษา
        - เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
        - ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
        - ถามหาสิ่งต่างๆไหม
        - บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
        - ใช้คำศัพท์ตัวเองกับคนอื่นไหม

     การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
        - การพูดตกหล่น
        - การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
        - ติดอ่าง

     ทักษะพื้นฐานทางภาษา
         - ทักษะการรับรู้ภาษา
         - การแสดงออกทางภาษา
         - การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

     การปฎิบัติของครูและผู้ใหญ่
         - ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือออกเสียงไม่ชัด
         - ห้ามบอกเด็กว่า ''พูดช้าๆ" ''ตามสบาย'' "คิดก่อนพูด"
         - อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
         - อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
         - ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
         - เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน


     
ขั้นกิจกรรม
  
          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กัน แล้วแจกอุปกรณ์(กระดาษปอน / สีเทียน) และให้แต่ละคู่ใช้สีเทียนขีดเขียนใส่กระดาษโดยตรงขีดเขียนไปเรื่อยๆห้ามยกมือขึ้นพร้อมทั้งต้องขีดเขียนเป็นเส้นตรงเท่านั้น และให้แต่ละคู่ขีดเขียนไปเรื่อยๆจนกว่าจะจบเพลง 1 เพลง (ขณะขีดเขียนอาจารย์จะเปิดเพลง)

สิ่งที่ได้รับในกิจกรรม
           1.ฝึกสมาธิ
           2.ฝึกความซื่อสัตย์
           3.ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือ
           4.ฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

คำทำนายจากภาพที่ปรากฏ : เส้นสี่เหลี่ยมน้องแสดงว่าเป็นคนคิดน้อย ถ้ายิ่งสี่เหลี่ยมเยอะแสดงว่าเป็นคนคิดมาก และถ้าสีที่ระบายออกมาสีอ่อนๆเป็นคนเรียบง่ายชอบสบาย ถ้าสีเข้มๆแสดงว่าชอบความท่าทาย 





ตัวอย่างภาพกิจกรรม



ตัวอย่างภาพของเพื่อนๆแต่ละคู่



กิจกรรมท้ายคาบ : กิจกรรมนี้เป็นการร่วมกันร้องเพลงในชั้นเรียน







การนำไปประยุกต์ใช้
       
        เราสามารถนำกิจกรรมในวันนี้ไปใช้กับเด็กปฐมวัยในอนาคตได้และเรายังสามารถนำเกมเหล่านี้ไปในจัดกิจกรรมในโอกาสต่างๆได้จริง และที่สำคัญเรายังนำกิจกรรมนี้ไปเป็นแนวทางในการไปปรับใช้ในการทำกิจกรรมอย่างอื่นได้


การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้ตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆต่างสนุกสนานในการทำกิจกรรม และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมากมีหลากหลายกิจกรรมซึ่งทำให้การเรียนนี้ไม่น่าเบื่อ และยังคลายเคลียดให้แก่นักเรียนด้วย






วันนี้สนุกมากเลยแม่ไก่อาทิตย์หน้าเอาอีกนะจ๊ะ....^ ^







วัน พฤหัสบดี ที่ 5 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2558






          หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุดชดเชยวันมาฆบูชา






วัน พฤหัสบดี ที่ 26 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558





               หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับวันสอบกลางภาค









วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วัน พฤหัสบดี ที่ 19 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558






หมายเหตุ : วันนี้ไม่ได้ไปเรียนเนื่องจากไม่สบาย





  


โอ๊ย....วันนี้เราไม่สบายอดได้ไปสนุกกับเพื่อนๆเลย...สัปดาห์หน้าไม่พลาดแน่...^^


วัน พฤหสบ่ดี ที่ 12 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558






กิจกรรม
      
           กิจกรรมแรกในวันนี้อาจารย์ให้นักเรียนสวมถุงมือในข้างที่ตนเองไม่ถนัด แล้วให้นักเรียนวาดภาพมือของตนเองที่สวมถุงมืออยู่ โดยที่ไม่ให้เปิดถุงมือออกและห้ามแอบดู ในการวาดนี้จะต้องวาดให้เหมือนมือของตนเองมากที่สุดไม่ว่าจะเป็น ลายนิ้วมือ เส้นเลือดในมือ หรือลักษณะต่างๆที่อยู่บนมือของตนเอง





ภาพตัวอย่างกิจกรรม



สรุปกิจกรรม
            
            กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นว่าถ้าเปรียบเด็กเสมือนมือเราอยู่นั้น จะเหมือนสิ่งที่อยู่ใกล้กับตัวเราที่สุด และถ้าเป็นเด็กก็เปรียบว่า "ไม่มีใครเข้าใจหรือเห็นพฤติกรรมของเด็กเท่ากับครู" และในการที่เราวาดรูปภาพมือของเรานั้น คือ การจดบันทึกรายละเอียดของเด็กแต่ละคน "เราจะต้องจดบันทึกตั้งแต่สิ่งที่เห็นและต้องจดบันทึกทันที"




ด้านเนื้อหา

          วันนี้เรียนเกี่ยวกับ การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ



ทักษะของครูและทัศนคติ

การฝึกเพื่มเติม
    - อบรมระยะสั้น , สัมมนา
    - สื่อต่างๆ

การเข้าใจภาวะปกติ
     - เด็กคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
     - มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
     - รู้จักเด็กแต่ละคน
     - มองเด็กให้เป็นเด็ก



ทัศนคติของครู

ความยืดหยุ่น
   - การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
   - ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
   - ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

การใช้สหวิทยาการ
   - ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
   - สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน


ขั้นตอนการให้แรงเสริม

   - สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
   - วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
   - สอนจากง่ายไปยาก




ตัวอย่างบรรยายกาศในชั้นเรียน



การนำไปประยุกต์ใช้

              เราสามารถนำกิจกรรมการวาดมือของเรานี้ไปใช้ในการฝึกการสังเกตจดบันทึกรายละเอียดต่างๆได้เพื่อเป็นแนวทางในการฝึกเพื่อนำไปจดบันทึกพฤติกรรมเด็กๆในอนาคตได้ต่อไป และในการเรียนทัศนคติของครูนั้นเราก็สามารถนำความรูและหลักการเหล่านั้นไปปฏิบัติ หรือนำไปเป็นแนวทางในการไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้


การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้สนุกมากกับการได้ทำกิจกรรม รู้สึกว่าขนาดมือที่อยู่กับตัวเองมาตั้งแต่เกิดเรายังวาดและจดจำรายละเอียดได้ไม่หมด แล้วถ้าเราไปจดบันทึกเด็กแต่ละคนไม่ใช่เรื่องง่ายเลยถ้าเราไม่ใส่ใจกับเด็กจริงๆ

เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆต่างวาดรูปมือตนเองอย่างสนุกสนานบางคนก็วาดเหมือนบางคนก็วาดไม่เหมือน ทุกคนต่างสนุกสนานกับกิจกรรมกันมาก ได้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์ได้เตรียมกิจกรรมดีๆและมีความสำคัญมากมาให้นักเรียนได้เรียนรู้และได้ฝึกฝนกันเป็นอย่างดี และอาจารย์ยังมีการอธิบายเกี่ยวกับความสำคัญและการสังเกตเด็กได้ชัดเจนมาก และเข้าใจง่ายขึ้น





        


วันนี้สนุกแค่นี้ก่อน.....สัปดาห์หน้าสนุกกว่านี้เยอะไว้เจอกัน...มั๊ววววว...^^



วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วัน พฤหัสบดี ที่ 5 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558





ขั้นนำ

                 วันนี้อาจารย์เริ่มการสอนโดยให้นักเรียนวาดรูปดอกหางนกยูง ซึ่งในการวาดนี้จะต้องเก็บรายละเอียดรูปภาพของดอกหางนกยูงให้ได้มากที่สุด และจะต้องวาดให้เหมือนมากที่สุดเท่าที่จะเหมือนได้ (ไม่เน้นสวย แต่เน้นเหมือน) หลังจากวาดรูปดอกหางนกยูงเสร็จอาจารย์ให้นักเรียนดูภาพที่ตนวาด แล้วให้นักเรียนเขียนใส่ใต้ภาพที่ตนวาดว่าเห็นอะไรในภาพบ้าง เขียนให้ละเอียดมากที่สุด



ตัวอย่างกิจกรรมวาดรูปดอกหางนกยูง


ขั้นสอน

             วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม ซึ่งดิฉันสรุปเรื่องราวที่อาจารย์สอนเป็น Mind Map  ดังนี้





ตัวอย่าง Mind Map ความรู้วันนี้




ขั้นสรุป

            วิธีการสังเกตพฤติกรรมเด็กเราควรเลือกสังเกตเด็กที่เราสงสัยว่าเป็นเด็กพิเศษ และในการสังเกตเราจะต้องมีการจดบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล โดยมีการบันทึก 
ดังนี้   
 การบันทึกการสังเกต 
          1. การนับอย่างง่ายๆ คือ นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
          2. การบันทึกต่อเนื่อง คือ เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลานั้น
          3. การบันทึกไม่ต่อเนื่อง คือ เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

หมายเหตุ : จงมองเด็กทุกคนให้เป็นเด็ก (อย่าแบ่งแยกว่าเด็กปกติหรือเด็กพิเศษ)






ตัวอย่างบรรยายกาศในชั้นเรียน



การนำไปประยุกต์ใช้

                 เราสามารถนำความรู้และประสบการณ์ต่างๆของอาจารย์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และเรายังสามารถนำเทคนิคง่ายๆในการเข้าหาหรือเข้าไปพูดคุยกับเด็กพิเศษในอานาคต หรือในสถานที่ที่เราพบเจอและอยากเข้าไปศึกษาเด็กเหล่านั้นได้ในชีวิตประจำวัน



การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้สนุกมากกับกิจกรรมการวาดรูปดอกหางนกยูง และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเกี่ยวกับการสังเกตเด็ก และการสอนเกี่ยวกับเทคนิคในการเข้าหาเด็กพิเศษด้วย

เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนมากและทุกคนตั้งใจในการวาดรูปดอกหางนกยูงมาก แต่ละคนวาดได้เหมือนและสังเกตภาพของตนเองได้ดีมาก

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์เตรียมกิจกรรมวาดรูปที่ดูเป็นกิจกรรมที่ธรรมดาให้เป็นการวาดที่สื่อความหมายถึงการสังเกตเด็กได้ชัดเจนและเข้าใจง่ายขึ้น




         

วันนี้สนุกอีกแล้ว...สัปดาห์หน้าจะเป็นไงน้อ....ตื่นเต้น ตื่นเต้น....^^ 


วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วัน พฤหัสบดี ที่ 29 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558






หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดธุระ




   



น่าเสียดายจังวันนี้ไม่ได้เรียน....สัปดาห์หน้าเจอกันนะ.....^ ^


วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

วัน พฤหัสบดี ที่ 22 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558





             วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งมีหัวข้อ ดังงนี้ 
รูปแบบการจัดการศึกษา
- การศึกษาปกติทั่วไป
- การศึกษาพิเศษ
- การศึกษาแบบเรียนร่วม
- การศึกษาแบบเรียนรวม

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม(lntegrated Education หรือ Mainstreaming)
- การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
- มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
- ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
- ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมเต็มเวลา(Mainstreaming)
          คือ การจัดให้เด็กพิเศษเรียนโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน และเด็กพิเศษจะได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้ และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม(lnclusive Education)
            เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยจะรับเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มรับเข้าการศึกษา และเด็กทุกคนจะมีบริการพิเศษความต้องการของแต่ละบุคคล

ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม
- ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
- "สอนได้"
- เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด




ภาพบรรยากาศในห้องเรียน



กิจกรรมสุดท้าย เป็นกิจกรรมตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งอาจารย์จะแจกกระดาษให้นักศึกษาตอบ และหลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนให้ร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย 4 เพลง ซึ่งมีชื่อเพลง ดังนี้ 
                     1. เพลงแปรงฟัน
                     2. เพลงพี่น้องกัน
                     3. เพลงอาบน้้ำ
                     4. เพลงมาโรงเรียน





วีดีโอการศึกษาแบบเรียนรวม(เพิ่มเติม)




การนำไปประยุกต์ใช้

เราสามารถนำความรู้ที่อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐวัยไปเป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้ หรือนำไปเป็นต้นแบบในการนำไปจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กๆได้จริงในอนาคต และเรายังสามารถนำความรู้นี้ไปต่อยอดในการศึกษาในครั้งต่อไปได้


          
การประเมิน


ตนเอง : วันนี้สนุกมากๆที่ได้เรียนกับเพื่อนเช็คบ่าย ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเป็นอย่างดี และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมตอบคำถามเป็นอย่างดี

เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆเยอะมากและทุกคนต่างตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี ทุกคนต่างร่วมกันตอบคำถามและแลกเปลี่ยนความคิดกันเป็นอย่างดี

อาจารย์ : วันนี้อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบรวมได้ชัดเจนมาก อาจารย์ยังเล่าประสบการณ์ต่างๆให้ฟังสนุกมาก





    

หมดเวลาสนุกแล้วจ้าาาา......พบกันใหม่สัปดาห์หน้าบ๊ายบายย